ลงนามดิจิทัล กับ แทนเซ็น แล้วเอกสารจะมีผลบังคับทางกฎหมาย หรือไม่ อย่างไร
มีผลตามกฎหมาย 100% เอกสารที่ลงนามดิจิทัลด้วยแทนเซ็นสามารถบังคับใช้ในทางกฎหมายครบทุกข้อบังคับตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มาตรา 9, 26 และมาตรา 28 ในระดับสูงสุด
อีกทั้งยังถูกต้องตาม พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ครบถ้วนทุกบริบทในการทำงานกับเอกสารดิจิทัล
แทนเซ็นพัฒนาให้กับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) มามากกว่า 4 ปี ดังนั้นเอกสารที่ผ่านการลงนามดิจิทัลด้วยแทนเซ็นจะครบถ้วนตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับครบถ้วนทุกประการ
ใช้กับเอกสารราชการใดได้บ้าง นอกจากใช้ลงนามดิจิทัลแล้ว ยังสามารถใช้ประทับรับรองเอกสารดิจิทัล ได้ด้วยหรือไม่
สามารถใช้กับเอกสารราชการได้ทุกประเภท เช่น หนังสือภายนอก, หนังสือภายใน, หนังสือประทับตรา, หนังสือสั่งการ (คำสั่ง, ระเบียบ, ข้อบังคับ), หนังสือประชาสัมพันธ์ (ประกาศ, แถลงการณ์, และข่าว), หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ (หนังสือรับรอง, รายงานการประชุม, บันทึก, และหนังสืออื่น) รวมถึงใบรับรอง, ใบอนุญาต ที่หน่วยงานราชการมีหน้าที่ออกให้กับผู้ขอรับบริการ รวมถึงเอกสารสัญญาจ้างทุกประเภท
ในอนาคตอันใกล้ จะสามารถใช้ในการแนบเอกสารที่ลงนามดิจิทัลแล้วในการเบิกจ่ายกับสำนักงบประมาณได้อีกด้วย ตาม (ร่าง) แนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ - ส่วนที่ 6 เรื่อง การรับและจ่ายเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการภาครัฐ ภายใต้พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ซึ่งอยู่ในกระบวนการประกาศบังคับใช้ โดยแทนเซ็นได้พัฒนาระบบรองรับบริการดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ ยังสามารถใช้กับการประทับรับรองเอกสารดิจิทัลจำนวนมากโดยไม่ต้องลงลายเซ็นได้อีกด้วย เช่น เอกสารความรู้, ข้อมูลกฎหมาย, หรือเอกสารที่ใช้สื่อสารกันภายในสำนักงาน เป็นต้น
หน่วยงานราชการใด ระดับใด ที่ควรใช้ระบบลงนามดิจิทัล ของ แทนเซ็น
หน่วยงานราชการตั้งแต่สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานระดับกรม ทั้งสังกัดกระทรวง และสำนักนายกรัฐมนตรี จำเป็นต้องใช้ระบบการลงนามดิจิทัลของแทนเซ็นเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ลงนามในเอกสารได้ทุกที่ทุกเวลา (Work Anywhere) ยังสามารถลงนามดิจิทัลจำนวนมากด้วยการลงนามเพียงครั้งเดียว ทำให้ประหยัดเวลาในการดำเนินการด้านเอกสาร ที่สำคัญลงนามได้ทุกที่ ไม่ว่าจะอยู่ในสำนักงาน นอกสำนักงาน หรืออยู่ต่างประเทศ สามารถลงนามได้ตลอดเวลา งานก็สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องไม่เสียเวลารอ
และด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถูกประกาศบังคับใช้งานแล้ว ดังนั้นหน่วยงานที่กล่าวมาต้องยกระดับงานด้านเอกสารให้เป็นดิจิทัลตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อประโยชน์ในการรับส่งเอกสารได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ และสามารถยืนยันความเป็นต้นฉบับ เพื่อป้องกันข่าวปลอมอีกด้วย
ใครใช้งานได้บ้าง ? เฉพาะหัวหน้าหน่วย หรือเจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหารเท่านั้นที่จะใช้งาน แทนเซ็น ได้
เจ้าหน้าที่ทุกคนสามารถใช้งานได้ ไม่เฉพาะหัวหน้าหน่วยหรือระดับผู้บริหารเท่านั้น ความคุ้มค่าของระบบลงนามดิจิทัลแทนเซ็น คือ ให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับสามารถใช้งานลงนามดิจิทัลได้ เจ้าหน้าที่ที่ต้องลงนามในเอกสารสำนักงาน หรือเอกสารที่ต้องยื่นให้กับสำนักงาน เช่น เอกสารลางาน, เอกสารเบิกค่าใช้จ่าย, เอกสารเบิกค่าเดินทาง, เอกสารขอประเมินผลงาน, เอกสารใบรับรองเงินเดือน และอื่น ๆ ซึ่งเป็นเอกสารส่วนตัว แต่หากต้องดำเนินการในระบบเอกสารดิจิทัลแล้ว การลงนามดิจิทัลหรือประทับรับรองเอกสารดิจิทัลด้วยแทนเซ็น จะทำให้สามารถตรวจสอบความเป็นต้นฉบับของเอกสารได้ 100% และเมื่อมีการแก้ไขจะสามารถทราบได้ทันที
ดังนั้น เจ้าหน้าที่ทุกระดับสามารถใช้งานได้ และควรใช้งานด้วย เพราะเอกสารที่อยู่ในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของเอกสารแนบ PDF จำเป็นต้องสามารถตรวจสอบความเป็นต้นฉบับจากผู้เสนอได้ และหากมีการแก้ไขจะต้องทราบได้ทันที ตามวิธีปฏิบัติงานราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
หน่วยงานมีเจ้าหน้าที่ ที่ต้องใช้งานลงนามดิจิทัลเยอะ 100 ถึง 500 คน ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายคน หรือ ไม่
ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายคน เนื่องจากแทนเซ็นพัฒนามาเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้งานได้จำนวนมากในแต่ละองค์กรโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม และใช้งบประมาณไม่มาก เมื่อติดตั้งแล้วสามารถให้บริการกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานได้ตั้งแต่ 1-1,000 คนในขั้นต้น โดยการเพิ่มหรือลดจำนวนเจ้าหน้าที่จะไม่มีผลกับการทำงานหรือค่าใช้จ่ายของระบบ
และไม่จำกัดจำนวนเอกสารที่ลงนามดิจิทัลหรือเอกสารที่ประทับใบรับรองดิจิทัล ดังนั้นหน่วยงานสามารถใช้งานได้ไม่จำกัดทั้งจำนวนผู้ใช้งานและจำนวนเอกสาร
แทนเซ็นคิดค่าใช้จ่ายตามอายุสัญญาการให้บริการกับหน่วยงาน (อย่างน้อย 1 ปี) ทำให้หน่วยงานไม่ต้องจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมหรือแบ่งจ้างในกรณีที่มีจำนวนผู้ใช้งานหรือเอกสารเพิ่มขึ้นจากที่ได้คาดประมาณไว้
#แทนเซ็น #ลงนามดิจิทัล #ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
#ลายมือชื่อดิจิทัล #เอกสารดิจิทัล #ระบบสารบรรณ #ราชการ #หน่วยงานรัฐ #Tansen #DigitalSignature #e-Signature #e-Document #e-Contract #DigitalID #DigitalThailand #DigitalTransformation